ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไก่แจ้สีไก่ไทย 4. สีโนรี

ไก่แจ้สีไก่ไทย 4. สีโนรี




 
สีไก่แจ้ไทย > สีโนรี

ตัวผู้
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู   สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
  หรือพื้นกำมะหยี่
- ตาสีส้ม
- จงอยปากสีขาวนวลอมน้ำตาล
- สีขนตั้งแต่หัว จนถึงสร้อยคอ  และระย้า เป็นสีส้มแดงจัด
- หลัง และหัวปีกทั้งสองข้าง   เป็นสีทับทิมแดง
- ปีกสองข้างสีเขียวเหลือบ  ปีกแมลงทับ
- ขนอ่อนใต้ปีกเมื่อกางปีกออก  จะเป็นสีน้ำตาลแดง
- เครื่องคุลมหาง ใบขนสีดำ  ขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลแดง
- หางพัดและหางชัย เป็นสีดำมัน  เหลือบสีปีกแมลงทับ
- ถ้าขนอุย หรือบัวหงาย    ใบขนขลิบขอบ
  ด้วยสีน้ำตาลแดง จะสวยงามมาก
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล  หรือสีเหลือง

ตัวเมีย
 ตั้งแต่หัวถึงสร้อยคอ ขนเป็นสีน้ำตาลแดงจัด
(เข้มกว่าส่วนอื่น) นอกนั้น  ขนทั้งตัวเป็นสีน้ำตาลแดง
หางพัดเป็นสีน้ำตาลดำ แข้ง - เล็บ เป็นสีขาวนวล >
หรือสีเหลือง



สีสร้อยสุวรรณ

ไก่แจ้สีไก่ไทย 8. สีสร้อยสุวรรณ



 
สีไก่แจ้ไทย > สีสร้อยสุวรรณ

ตัวผู้
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู   สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
  หรือพื้นกำมะหยี่
- ตาสีส้มสดใส
- จงอยปาก สีดำอมเขียว  ปลายปากบนเป็น
  สีขาวอมเหลือง
- ตั้งแต่หัว, สร้อยคอ, ระย้า  ใบขนเป็นสีส้ม 
- หลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีส้ม   
   ปีกทั้งสองข้างไม่มีสาบ   เป็นสีดำมันเหลือบ 
   เขียวปีกแมลงทับ  และอาจมีขนปีกแซมขาวได้
  ข้างละ 1 ใบ
- ขนหน้าอกแต่ละใบ ขลิบขอบ  ด้วยสีส้ม 
   คล้ายกับหน้าอกของ  ไก่แจ้สีดอกหมาก ซึ่งขลิบขอบ
  สีเทาเงิน 
- ส่วนอื่นๆ รวมทั้งเครื่องคลุม   บัวหงาย หางชัย หางพัด 
  เป็นสีดำมัน เหลือบเขียว  ปีกแมลงทับ
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง

ตัวเมีย
- สีขนทั้งตัวเหมือนกับตัวเมีย   สีเหลืองลูกปลา จะต่างกัน
   ตรงที่หน้าอก 
- สีสร้อยสุวรรณ หน้าอกใบขน แต่ละใบต้องขลิบขอบด้วย 
  สีส้ม  เช่นเดียวกับตัวผู้ 
- แต่หน้าอกของสีเหลืองลูกปลา  ใบขนแต่ละใบเป็นสีดำ 
  ไม่มีขลิบ  ของสีส้ม
- ตา แข้ง นิ้ว เหมือนกับตัวผู้

สีเหลืองลูกปลา

ไก่แจ้สีไก่ไทย 9. สีเหลืองลูกปลา





 
สีไก่แจ้ไทย > สีเหลืองลูกปลา

ตัวผู้
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู 
  สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
  หรือพื้นกำมะหยี่
- ตาสีส้มสดใส
- จงอยปาก สีดำอมเขียว ปลายปากบนเป็น
  สีขาวอมเหลือง
- ตั้งแต่หัว, สร้อยคอ, ระย้า
  ใบขนเป็นสีส้มแดง แกนกลางและ
  ขนตรงกลางเป็นสีดำ
  ถ้าดึงขนออกมาจะเป็นลักษณะ
  ขนสีดำ ขลิบขอบด้วยสีส้มแดง
  ปลายขนมีจุดดำ 
- หลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีแดง
  ปีกทั้งสองข้างไม่มีสาบ 
  เป็นสีดำมันเหลือบเขียวปีกแมลงทับ
- ขนทั้งตัว บัวหงาย ขนเครื่องคลุม
  หางชัย หางพัด เป็นสีดำเหลือบ
  สีเขียวปีกแมลงทับ
- ถ้าขนตัวออกสีดำด้าน หรือสร้อย
  ระย้าเป็นสีเหลืองนวล ถือว่า
  ไม่ใช่สีไก่ไทยเหลืองลูกปลา
-  แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว

ตัวเมีย
- สีขนทั้งตัวจะเป็นสีดำ  จุดเด่นของตัวเมียเหลืองลูกปลา
  จะมีเฉพาะสร้อยคอ  ซึ่งแกนกลางขนเป็นสีดำ 
  ขลิบขอบด้วยสีส้มแดง 
- ขนทั้งตัวเป็นสีดำมันเหลือบ  เขียวปีกแมลงทับ
- ตาสีส้ม
- จงอยปากสีดำอมเขียว   ปลายปากบนสีขาวอมเหลือง
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง  หรือเหลืองอมเขียว

ไก่แจ้สีเหลืองดอกโสน

ไก่แจ้สีไก่ไทย 10. สีเหลืองดอกโสน



 
สีไก่แจ้ไทย > สีเหลืองดอกโสน

ตัวผู้
         
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู   สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
  หรือพื้นกำมะหยี่
- ตาสีส้มสดใส
- จงอยปาก สีขาวนวล  หรือสีเหลือง
- ขนหัว สร้อยคอ ระย้า  เป็นสีเหลือง (เหมือนดอกโสน)
- ก้านขนของสร้อยคอและระย้า  ไม่มีสีดำ แต่จะเหลืองเท่ากันหมด
- หัวปีกทั้งสองข้าง และหลังเส้นขน  จะเป็นสีน้ำตาลแดง 
- สาบปีกทั้งสองข้างเป็นสีเหลือง   อมน้ำตาล
- ขนปีกดำมันเหลือบเขียว  คล้ายปีกแมลงทับ
- หน้าอก ใต้ท้อง จนถึงขนบัวหงาย  เป็นสีดำ
- ขนหาง เครื่องคลุมหางพัด  หางชัย เป็นสีดำมันเหลือบ
  สีปีกแมลงทับ
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล  หรือสีเหลือง

ตัวเมีย
- คล้ายสีไก่ป่าเหลือง  ต่างกันที่สร้อยคอ
- ตัวเมียสีดอกโสน  ขนสร้อยคอจะเป็น  สีครีมนวล
- หลังปีก โคนหาง เป็นสีนวล  อมน้ำตาล
- หางดำอมน้ำตาลเล็กน้อย
- จงอยปาก แข้ง นิ้ว เล็บ  เหมือนกับตัวผู้

ไก่แจ้สีคาบอ้อย

ไก่แจ้สีไก่ไทย 11. สีกาบอ้อย






 
สีไก่แจ้ไทย > สีกาบอ้อย

ตัวผู้
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู 
  สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
  หรือพื้นกำมะหยี่
- ตาสีส้มปนแดง หรือสีเหลืองส้ม
- จงอยปาก สีขาว หรือสีเหลือง
  หรือดำอมเหลือง
- ขนหัว สร้อยคอ ระย้า
  เป็นสีครีมอมน้ำตาล
  (น้ำตาลอ่อนมากดูเป็นสีนวล)
- โคนของเส้นขนสร้อยคอและ
  ระย้าเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ
- ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้าง
  เป็นสีน้ำตาลแดง
- ปีกทั้งสองข้างสีดำเหลือบ
  เขียวปีกแมลงทับ
- สาบปีกสีน้ำตาลอ่อน
- ขนหน้าอก ใต้ท้อง เป็นสีดำมัน
- เครื่องคลุมอาจมีขลิบขอบ
  เป็นสีครีมนวล
- หางพัด หางชัย เป็นสีดำ
  เหลือบเขียวปีกแมลงทับ
- บัวหงาย เป็นสีดำ
- ขิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล
  สีเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว

ตัวเมีย
- ขนตั้งแต่หัว ถึงสร้อยคอ  จะเข้ม เป็นสีเทาอมน้ำตาล
- ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้อง  เป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ
- สีตัวจนถึงเครื่องคลุม  เป็นสีน้ำตาลอมดำ 
- ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสี  ดำน้ำตาล
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล  หรือสีเหลือง 
  หรือสีเหลืองอมเขียว

ไก่แจ้สีคาบหมาก






 
สีไก่แจ้ไทย > สีกาบหมาก

ตัวผู้
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู   สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
  หรือพื้นกำมะหยี่
- ตาสีส้มปนแดง หรือสีเหลืองส้ม
- จงอยปาก สีขาว หรือสีเหลือง  หรือดำอมเหลือง
- ขนหัว สร้อยคอ ระย้า  เป็นสีขาว ไม่มีสีดำปน
- ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้าง  เป็นสีเหลืองอมขาวผสมดำ
- ปีกทั้งสองข้าง สีดำเหลือบเขียว  ปีกแมลงทับ
- สาบปีกเป็นสีขาวนวล
- ขนอก ใต้ท้อง เป็นสีดำ
- ขนหางทั้งหมด ตั้งแต่เครื่องคลุม  หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบ  เขียวปีกแมลงทับ
- บัวหงายเป็นสีดำ
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล  หรือเหลืองอมเขียว

ตัวเมีย
 - ขนตั้งแต่หัว ถึงสร้อยคอ  จะเข้ม เป็นสีเทาอมน้ำตาล
- ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้อง  เป็นสีครีมนวล
- สีตัวจนถึงเครื่องคลุม  เป็นสีน้ำตาลอมดำ
- ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสี  ดำน้ำตาล
- แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล  หรือสีเหลือง
  หรือสีเหลืองอมเขียว

 หมายเหตุ : รูปตัวเมียที่ลงในหนังสือนี้ ลักษณะคล้ายกับผ่าขาวหางดำมา เพราะมีลายน้อย
                    ได้พยายามสอบถามผู้รู้ตอนทำหนังสือ ทราบมาว่า เขาต้องการให้เห็นเด่นชัด
                    ให้แตกต่างจากตัวเมียกาบอ้อยและเบญจรงค์ จึงนำตัวเมียกาบหมากโทนขาวที่สุดมาลงไว้



คำอธิบาย "นอก-รอบ" ด้านล่างนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล เป็นส่วนที่ผม "ชอบ" และ "ไม่ชอบ"
จึงได้นำมาเล่าสู่กันฟัง หากวิจารณ์ไปโดนไก่ของใครแล้วไม่ถูกใจก็ขออภัยด้วย
เพราะว่าตรงนั้นมันเป็นส่วนที่ผม "ไม่ชอบ" ก็แค่นั้น อย่างอนกัน
และพยายามที่จะวิจารณ์ให้ใกล้เคียงกับ "ไก่แจ้ในอุดมคติ" ให้มากที่สุด



ไก่แจ้ไทย สีกาบหมาก ยังมีบางท่านสับสน เรียกผิดเรียกถูก
ระหว่าง กาบหมาก และ ดอกหมาก หรือ ลายดอกหมาก
กาบหมาก - คือ สีไก่แจ้ไทยโบราณ
ดอกหมาก หรือลายดอกหมาก - คือ ไก่แจ้สีสากล
ดังนั้น โปรดทำความเข้าใจให้ถูกต้องนะครับ

เรามาดู กาบหมาก สมัยก่อนกัน
รูปเหล่านั้เอามาจากอัลบั้มภาพของพี่สุทน วงษ์ใหญ่ นายกสมาคมอนุรักษ์ไก่แจ้ไทย

 







 

คลาสสิคมากๆ เลยครับ ไก่เจ้สีกาบหมาก เป็นไก่แจ้คู่กายของท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท
ไม่ว่าท่านจะทำอะไรอยู่ที่ไหน จะเห็นไก่แจ้ไทยสีกาบหมากอยู่ข้างกายท่านเสมอ

ปัจจุบนนี้ (2551) เป็นสีที่หายากมากสีหนึ่งครับ
จะหาขาวจั๊วะแบบในรูปนี้แทบจะไม่มีแล้ว ส่วนมากจะออกเหลืองไปเสียหมด
แล้วก็-อก-ลาย เนื่องจากเอาไปผ่าขาวหางดำกัน
โคนระย้าก็ขาวครับ ปัจจุบันเห็นเหลืองกันหมดแล้ว เป็นลูกครึ่งกาบอ้อยซะหมด

 

ภาพด้านซ้าย จะเห็นว่า สร้อยคอติดแกนดำเยอะมาก ..ไม่ดี..
สร้อยคอที่ดีตามตำรา จะต้องสีขาวบริสุทธิ์ ไม่เหลือง ไม่มีแกนดำ
ภาพด้านขวา จะเห็นว่า อก-ลาย ซึ่งไม่ดีอีกเช่นกัน อกที่ดีจะต้องดำสนิท

(สองภาพด้านบนนี้เป็นไก่แจ้สีกาบอ้อย แต่ผมเอาตำหนิมาให้ดูว่ามันมีแกนดำและอกลาย
ซึ่งกาบหมากก็คือตำหนิแบบเดียวกัน แต่ขนสร้อยคอจะต้องขาวจั๊วะกว่านี)
กาบอ้อยตัวนี้ ผมได้มาจากเฮียช้ง
ซึ่งผมเอาไก่ฟ้าสองคู่ลงไปให้ท่าน มูลค่าตลาดก็ประมาณ 15,000.- บาท
ท่านก็ให้ไก่แจ้ตอบแทนมาอย่างที่เห็นนี่แหละครับ
ซึ่งพอถ่ายรูปก็บไว้เสร็จผมก็ทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว
เอาง่ายๆ นะครับ
สร้อยคอสีขาว ห้ามมีแกนดำ เครื่องคลุมและหางพัดดำสนิท ไม่มีขลิบขอบ
หน้าอกดำสนิท ไม่มีลาย
แทบทั้งตัวจะมีแค่สีขาว และสีดำ นั่นแหละครับ ห้ามเหลือง



  

ภาพจากนิตยสารเก่าๆ นะครับ จะเห็นได้ว่า โคนระย้าเหลือง หัวปีกเหลือง
ซึ่งไม่ขาวบริสุทธิเหมือนต้นแบบในสมัยก่อนเลย แถม-อก-ลาย อีกต่างหาก

มันอาจเป็นที่การสแกน หรือการพิมพ์ทำให้สีผิดเพี้ยนไป

ภาพซ้าย ผมดูว่าคอมันขาว ระย้ามันก็ขาว สาปปีกก็ขาว ถ้าเป็นอ้อย มันก็น่าจะครีมเหลือง
แล้วมันหัวปีกเหลือง โคนหางเหลือง ก็เลยไม่รู้จะว่าเป็นหมากหรืออ้อยดี

ภาพขวา คอขาวมาก สาปปีกขาว โคนหางเหลือง ระย้าออกครีม
เอามาให้ชมกันว่า ถ้าหมาก มันควรจะขาวจั๊วะ ขาวและดำเท่านั้น
แต่สองภาพด้านบนนี้ มีสีครีม และเหลืองด้วย
จึงออกไปทางครึ่งหมากครึ่งอ้อย เอางี้ก็แล้วกัน
 เพราะรูปกาบหมากชัดๆ ในหนังสือนั้น ผมหาแทบไม่เจอเลยครับ


มาชมตัวเมียกันบ้างครับ
 
 

ตัวเมียทั้ง 4 ตัวข้างบนนี้ ผมถือว่าสีเข้าขั้นเป็นกาบหมากได้
คือหัวและหลังเทา  มีลายชัดเจน  อกขาว
จำไว้ว่า จะต้องเป็นสีเทา - ถ้าเป็นเหลือง มันคือลายนกกระจอก

 



ตัวนี้ผมก็ว่าน่าจะเข้าเค้า ถึงแม้หัวจะไม่ดำ
แต่ลายที่หลังออกมาชัดเจนเป็นไก่ไทย ยังเป็นไก่รุ่นอยู่ โตอาจจะเปลี่ยนครับ



 
 

ตัวเมียทั้ง 4 ตัวข้างบนนี้ ผมคาดว่า เป็นตัวเมียที่ผ่าขาวหางดำมา
อย่างแรกคือ บางตัวลายไม่ชัด ไม่มีลายเป็นไก่ไทย
อย่างที่สองคือ บางตัวสร้อยคอเป็นเส้นดำ เป็นจุดดำ ไม่เป็นลายแบบไก่แจ้ไทย

ท่านลองเอาไก่แจ้ไทยที่บ้านท่าน ผสมกับขาวหางดำสิครับ
ท่านก็จะได้ตัวเมียออกมาสีแบบนี้แหละ
ส่วนตัวผู้มันจะเละเทะกว่านี้มากไปอีกเป็นแฟนซี ถ้าสีเป็นไก่ไทยก็จะมีปีกขาว

ท่านที่จะเอาตัวเมียแบบนี้ ไปทำกาบหมาก ..ยากครับ..
เพราะในตัวมันนั้น ไม่มี "เลือด" ของกาบหมากเลย
อาจจะทำได้ แต่คงใช้เวลาสัก 5-7 ปี
ต้องคัดลูกไก่ทิ้งไปสักหนึ่งพันตัว....





ข้างบนนี้ ผมใช้คอมพิวเตอร์ปรับสีหน้าอกครับ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
สำหรับตัวเมียในกลุ่ม กาบหมาก กาบอ้อย เบญจรงค์
เป็นไก่แจ้ตัวเมียตัวเดียวกัน เพียงแต่ปรับสีหน้าอกเท่านั้น



เตือนความจำ

ไก่แจ้ตัวเมีย



 
สีไก่แจ้ไทย > ตัวเมีย - สีลายนกกระจอก
- ใบขนตั้งแต่หัวถึงใต้คาง จะเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม
- หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลแดง
- สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลอมดำ
- สีตัวตั้งแต่หัวปีกจนถึงโคนหาง ใบขนแต่ละใบคล้ายเกล็ดปลา
  คือใบขนแต่ละใบเป็นสีน้ำตาล ก้านขนสีครีม ซึ่งเป็นจุดเด่นประจำตัว
- ปีกทั้งสองข้าง เป็นสีน้ำตาล มีลายทางคลุมเป็นสีน้ำตาล .
   ก้านขนสีครีม
- หางพัดทั้งหมด 80 % เป็นสีน้ำตาลอมดำ
- แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียว 
  และหรือสีเขียวอมเทา
- ตัวเมียสีลายนกกระจอก เป็นสีไก่แจ้ตัวเมีย ที่นิยมเลี้ยงกันมากสีหนึ่ง
- ถ้าต้องการตัวเมียสีนี้ ต้องผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเข้ม
- แต่ถ้านำตัวเมียสีลายนกกระจอก ผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเหลือง
   แล้วลูกออกมาเป็นตัวเมีย สีจะกลับกลายเป็นสีไก่ป่าตัวเมีย
   ถ้าลูกเป็นตัวผู้ ส่วนใหญ่จะเป็นสีไก่ป่าเข้ม 
   จะได้เป็นสีไก่ป่าเหลืองน้อยมาก



คำอธิบาย "นอก-รอบ" ด้านล่างนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล เป็นส่วนที่ผม "ชอบ" และ "ไม่ชอบ"
จึงได้นำมาเล่าสู่กันฟัง หากวิจารณ์ไปโดนไก่ของใครแล้วไม่ถูกใจก็ขออภัยด้วย
เพราะว่าตรงนั้นมันเป็นส่วนที่ผม "ไม่ชอบ" ก็แค่นั้น อย่างอนกัน
และพยายามที่จะวิจารณ์ให้ใกล้เคียงกับ "ไก่แจ้ในอุดมคติ" ให้มากที่สุด



มาเริ่มกันเลยนะครับ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
ดูรูปแล้วเปรียบเทียบโดยใช้ความเข้าใจเอานะครับ
บางอย่างมันอธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้

 
ลายนกกระจอก ก็เป็นแบบนกกระจอก ออก "โทนเหลือง หรือน้ำตาล"



ด้านล่างนี้ เป็น "โทนสีเทา" .. ระวัง .. มันคือ กาบหมาก กาบอ้อย เบญจรงค์

 



  
 
 
 

ข้างบนนี้ เป็นไก่แจ้ตัวเมีย สีลายนกกระจอก ทั้งหมดครับ
บางตัวสีเข้ม บางตัวสีอ่อน ก็ว่ากันไป



วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สีไก่แจ้ไทย 12 สี


สีไก่แจ้ไทย 12 สี
                ปัจจุบันไก่แจ้ไทยได้รับความนิยมจากกลุ่มคนมากขึ้น ฉนั้นการกำหนดสีของไก่แจ้ไทยขึ้นมาก็เป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อให้ผู้ที่นิยมชื่นชอบเข้าใจในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในขณ1.สีไก่ป่าเหลือง
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่ ตามีสีแดง หรือส้มปนแดง จะงอยปากสีเหลือง หรือดำอมเหลือง, ขนหัวเป็นสีส้มแดง ไล่เรื่อยไปเป็นสร้อยคอสีส้มเหลืองสว่างสดใน ระย้าสีเดียวกับสร้อยคอ, ขนหลังและหัวปีก เป็นสีแดง ปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำเงินอมม่วง ส่วนปีกตั้งแต่ส่วนกลางของปีกจนถึงส่วนกลางที่สัมผัสพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมที่เราเรียกกันว่าสาบปีกนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ขนอก-ใต้ท้อง สีดำ, ขนหางทั้งหมดเป็นสีดำ เหลือบเขียวปีกแมลงทับ, แข้ง นิ้ว เล็บ สีเหลือง หรือสีเขียวอมเทา
                ส่วนตัวเมีย กำหนดไว้ว่าขนทั้งตัวจะเป็นสีครีมนวล สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมแดง หลัง  ปีก  โคนหาง เป็นสีนวล อมน้ำตาล หางดำอมน้ำตาลเล็กน้อย

2.สีไก่ป่าเข้ม
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่, ตาสีแดงหรือส้มปนแดง, จะงอยปากสีเหลือง หรือดำอมเหลือง, ขนหัว สร้อยคอ ระย้า สีน้ำตาลอมแดง แต่ไม่เข้มเท่าสีเม็ดมะขาม, ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้าง เป็นสีเม็ดมะขาม ปีกทั้งสองข้างสีดำ เหลือบเขียว ปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแดงเข้ม, ขนอก ใต้ท้อง เป็นสีดำ ขนหางทั้งหมด ตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลทับ, บัวหงาย(ขนอุย) สีดำ, แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียว หรือสีเขียวอมเทา
                ส่วนตัวเมีย มีสำน้ำตาลอมเหลืองดำ ใบขนแต่ละเส้นมีลายละเอียดเป็นสีน้ำตาลดำ อยู่ในใบขนทั้งใบ, ขนคอ หรือสร้อยคอ มีลายไม่เด่นชัด ขนอกไล่ไปถึงใต้ท้องสีนวล, ขนปีก และหางพัด สีเดียวกัน คือเป็นสีน้ำตาลอมดำ, แข้ง นิ้ว เล็บ เล่นเดียวกับตัวผุ้

3.สีไก่ป่าหูขาว
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่ แต่ติ่งหูทั้งสองข้าง เป็นสีขาวแป้ง หรือขาวอมฟ้าเต็มแผ่นของติ่งหู, สีขนและอื่นๆ มีทั้งสองสีคือ สีไก่ป่าเหลือง และสีไก่ป่าเข้ม
                ส่วนตัวเมียก็เช่นกัน สีขน และสีอื่นๆ จะเหมือนตัวเมียสีไก่ป่าเหลืองและสีไก่ป่าเข็ม ยกเว้นตรงติ่งหูเท่านั้น จะต้องเป็นสีขาวแป้ง

4.สีโนรี
                ตัวผุ้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่, ตาสีส้ม, จะงอยปากสีขาวนวลอมน้ำตาล สีขนตั้งแต่หัวจนถึงสร้อยคอ และระย้าเป็นสีส้มแดงจัด, หลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีทับทิมแดง ปีกสองข้างสีเขียว เหลือบปีกแมลงทับ, ขนอ่อนใต้ปีกเมื่อกางปีกออก จะเป็นสีน้ำตาลแดง สาปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสีน้ำตาลแดง, เครื่องคลุมหางใบขนสีดำ ขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลแดง, หางพัดและหางชัย เป็นสีดำมัน เหลือบสีปีกแมลงทับ ถ้าขนอุยหรือบัวหงาย ใบขนขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลแดง จะสวยงามมาก, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง
                ตัวเมีย ตั้งแต่หัวถึงสร้อยคอ ขนเป็นสีน้ำตาลแดงจัด (เข้มกว่าส่วนอื่น) นอกนั้นขนทั้งตัวเป็นสีน้ำตาลแดง หางพัดเป็นสีน้ำตาลดำ แข้ง - เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง

5.สีประดู่เข้ม
                ตัวผู้ หน้า หงอน เนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่, ตาสีแดง, จะงอยปากสีดำอมเขียว, เส้นขนอก สร้อยคอระย้า สีเม็ดมะขาม, หลังและหัว ปีกทั้งสองข้าง สีเม็ดมะขามเข้ม, ปีกทั้งสองข้างดำมันเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ไม่มีสาบปีก, ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้อง บัวหงาย เครื่องคลุม หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียว ปีกแมลงทับ , แข้ง ขา นิ้ว เล็บ เป็นสีเขียวหรือ สีเหลืองอมเขียว มีจุดสังเกตเพื่อเข้าใจง่าย คือไม่มีสาบปีก ขนเป็นสีดำล้วนๆ
                ตัวเมีย สีขนทั้งตัว คล้ายไก่สีดำมาก แต่มีจุดแตกต่างจากไก่สีดำ 3 จุด คือ บริเวณหน้าต้องสีแดง สดใน ไม่มีปานดำ ตาเป็นสีแดง หรือ ส้มปนแดงสดใน แข้ง นิ้ว เล็บ จะเป็น สีเขียว หรือเขียวอมเหลือง

6.สีเหลืองหางขาว
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่, ตาสีเหลือง หรือออกสีส้มสดใน ตั้งแต่หัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีเดียวตลอด คือ เหลืองออกส้ม หลังและหัวปีกทั้งสองข้างสีขนจะเข้มกว่าสร้อยระย้า, ปีกทั้งสองข้างไม่มีสาบปีก, ใบขนปีกมีสีขาวแซมมากชัดเจน, ขนพื้น ตัวหน้าอก ถึงใต้ท้อง เป็นสีดำ มีขนสีขาวขึ้นประปราย ตั้งแต่หัว ท้ายทอย หัวปีกทั้งสองข้าง ที่ข้อขาทั้งสองข้าง มีขนแซมขาว, บัวหงานเป็นสีดำ ปลายขาวประปราย, เครื่องคลุมขนสีดำปนสีขาว, หางกะลวยเป็นสีขาว หางพัดที่ใกล้กับหางชัย จะเป็นสีขาวมากกว่าสีดำ แต่ปลายหางพัดจะเป็นสีขาวคล้ายกับไก่สีกระ, จะงอยปาก แข้ง เล็บ จะเป็นสีขาวอมเหลือง คล้ายสีงาช้าง
                ตัวเมีย สีขนทั้งตั้ว จะเป็นสีดำ ขนบนหัว หัวปีกทั้งสองข้าง ข้อขาทั้งสองข้าง จะมีขนสีขาวแซมเป็นย่อมๆ ส่วนของขนหางจะเป็นสีดำ ตาสีเหลือง หรือ ออกสีส้มสดใน ปาก แต้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวอมเหลือง

7.สีเบญจรงค์
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่ ตาสีแดงหรือสีส้ม จะงอยปาก แข้ง นิ้ว เล็บ สีเหลืองหรือสีเขียว , เส้นขนของตัวผู้สังเกตุได้ง่ายเริ่มตั้งแต่หัว จรดสร้อยคอ และ ระย้า ปลายของเส้นขนจะเป็นสีงาช้าง ถึงกลางเส้น จากนั้นจะเป็นสีแดงทับทิมต่อไปจนถึงโคนขน หน้าอกเป็นแว่นสีน้ำตาลแดง โคนของใบขนเป็นสีดำ หลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสี แดงทับทิม ปีกสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ สาบปีกเป็นสีน้ำตาลแดงทั้งสองข้างหาง พัดและหางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายเป็นสีดำ สรุปสีของตัวผู้ 5 สี คือ งาช้าง,แดงทับทิม,น้ำตาลแดงฒดำ,เขียวปีกแมลงทับ
                ตัวเมีย คล้ายสีลายนกกระจอก แต่ต่างกันคือใบหน้าจะเป็นวงขาวครีม สร้อยคอ เป็นสีน้ำตาลเทาขลิบขอบ ด้วยสีครีม, หน้าอกเป็นสีครีมออกสีน้ำตาล หรือ ใบขนอาจขลิบ ด้วยขอบสีน้ำตาลเทา, ใบขนทั้งตัวจนถึงหาง หรือ เครื่องคลุมเป็นสีน้ำตาลเทาขลิบขอบด้วยสีครีมและก้านขนเป็นสีครีม, หางพัด หางชัย เป็นสีน้ำตาลเทา ขลิบขอบด้วยสีครีม ก้านขนสีครีม ส่วนอื่นๆ เช่นเดียวกับตัวผู้

8.สร้อยสุวรรณ
                ตัวผู้ หน้า หงอน เนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่, ตาสีส้มสดใน, จะงอยปาก สีดำอมเขียว ปลายปากบนเป็นสีขาวอมเหลือง ตั้งแต่หัว สร้อยคอ ระย้า ใบขน เป็นสีส้ม, หลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีส้ม ปีกทั้งสองข้างไม่มีสาบ เป็นสีดำมันเหลือบเขียวปีแมลงทับ และอาจมีขนปีกแซมขาวได้ข้างละ 1 ใบ, ขนหน้าอกแต่ละใบ ขลิบขอบด้วยสีส้ม คล้ายกับหน้าอกของ ไก่แจ้สีดอกหมาก ซึ่งขลิบขอบสีเทาเงิน ส่วนอื่นๆ รวมทั้งเครื่องคลุม บัวหงายทางชัย หางพัดเป็นสีดำมันเหลือบเขียวปีกแมลงทับ, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง
                ตัวเมีย สีขนทั้งตัวเหมือนกับตัวผู้ สีเหลืองลูกปลา จะต่างกันตรงที่หน้าอกของสีสร้อยสุวรรรณ, ใบขนแต่ละใบต้องขลิบขอบด้วยสีส้มเช่นเดียวกับตัวผู้ แต่หน้าอกของสีเหลืองลูกปลา ใบขนแต่ละใบเป็นสีดำไม่มีขลิบของสีส้มฒ ตา แข้ง นิ้ว เหมือนกับตัวผู้

9.สีเหลืองลูกปลา
            ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือ พื้นกำมะหยี่, ตาสีส้มสดใส, จะงอยปาก สีดำอมเขียว ปลายปากบนเป็นสีขาวอมเหลือง ตั้งแต่หัว สรร้อยคอระย้า ใบขนเป็นสีส้มแดง แกนกลางและขนตรงกลางเป็นสีดำ ถ้าดึงขนออกมาจะเป็นลักษณะขนสีดำ ขลิบขอบด้วยสีส้มแดงปลายขนมีจุดดำ, หลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีแดง ปีกทั้งสองข้างไม่มีสาบเป็นสีดำมันเหลือบเขียวปีกแมลงทับ, ขนทั้งตัว บัวหงาย ขนเครื่องคลุมหางชัย หางพัด เป็นสีดำเหลือบสีเขียวปีกแมลงทับ ถ้าขนตัวออกสีดำด้าน หรือสร้อยระย้าเป็นสีเหลืองนวล ถือว่าไม่ใช่สีไก่ไทยเหลืองลูกปลา, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว
                ตัวเมีย สีขนทั้งตัวจะเป็นสีดำ จุดเด่นของตัวเมียเหลืองลูกปลาก็คือจะมีเฉพาะสร้อยคอ ซึ่งแกนกลางขนเป็นสีดำขลิบขอบด้วยสีส้มแดง, ขนทั้งตัวเป็นสีดำมันเหลือบเขียวปีกแมลงทับ, ตามีสีส้ม จะงอยปากสีดำอมเขียว ปลายปากบนสีขาวอมเหลือง, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว

10.สีเหลืองดอกโสน
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสดใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่, ตาสีส้มสดใส, จะงอยปาก สีขาวนวล หรือสีเหลือง, ขนหัวสร้อยระย้า เป็นสีเหลือง (เหมือนดอกโสน), ก้านขนของสร้อยคอและระย้า ไม่มีสีดำแต่จะเหลืองเท่ากันหมด, หัวปีกทั้งสองข้างและหลังเส้นขน จะเป็นสีน้ำตาลแดง, สาบปีกทั้งสองข้างเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล, ขนปีกดำมัน เหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ, หน้าอก ใต้ท้อง จนถึงขนบัวหงายเป็นสีดำ, ขนหางเครื่องคลุมหางพัด หางชัย เป็นสีดำมันเหลือบเขียวคล้ายสีปีกแมลงทับ, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง
                ตัวเมีย คล้ายสีไก่ป่าเหลือง ต่างกันที่สร้อยคอ คือตัวเมียสีดอกโสนขนสร้อยคอจะเป็นสีครีมนวน ส่วนหลังปีก โคนหาง เป็นสีนวลอมน้ำตาล, หางดำอมน้ำตาลเล็กน้อย, จะงอยปาก แข้ง นิ้ว เล็บ เหมือนกับตัวผู้

11.สีกาบอ้อย
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหูสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่ ตาสีส้มปนแดง หรือสีเหลืองส้ม, จะงอยปากสีขาว หรือสีเหลือง หรือดำอมเหลือง, ขนหัวสร้อยคอ ระย้า เป็นสีครีมอมน้ำตาล (น้ำตาลอ่อนมากดูเป็นสีนวล),  โคนของเส้นขนสร้อยคอและระย้าเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำตาลแดง, ปีกทั้งสองข้างสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกปีน้ำตาลอ่อนขนหน้าอก ใต้ท้อง เป็นสีดำมันเครื่องคลุมอาจมีขลิบขอบเป็นปีครีมนวล หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวคล้ายปีกแมลงทับ บัวหงายเป็นสีดำ, นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล สีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
                ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัว ถึงสร้อยคอ จะเข้มเป็นสีเทาอมน้ำตาล ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้อง เป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ส่วนสีตัวจนถึงเครื่องคลุมจะเป็นสีน้ำตาลอมดำ, ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสี ดำน้ำตาล, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว
12.สีกาบหมาก
                ตัวผู้ หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู มีสีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่, ตาสีส้มปนแดง หรือสีเหลืองส้ม, จะงอยปากสีขาว หรือสีเหลือง หรือดำอมเหลือง ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีขาวไม่มีสีดำปน, ขนหลังและหัวปีกทั้งสองข้าง เป็นสีเหลืองอมขาวผสมดำ, ปีกทั้งสองข้างสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ, สาบปีกเป็นสีขาวนวล,ขนอก ใต้ท้อง เป็นสีดำ, ขนหาง ทั้งหมด ตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายสีดำ, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือสีเหลืองอมเขียว
                ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัวถึงสร้อยคอ จะเข้ม เป็นเทาอมน้ำตาล ใต้คอ หน้าอก ถึงใต้ท้องเป็นสีครีมนวล ส่วนสีตวถึงเครื่องคลุมจะเป็นสีน้ำตาลดำ ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสีดำน้ำตาล, แข้ง นิ้ว เล็บ เป็นสีขาวนวล หรือสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
                นอกจากนี้ยังได้กำหนดสีไก่แจ้ไทย ตัวเมีย สีลายนกกระจอก ไว้ว่า สีขนทั้งตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบขนตั้งแต่หัวถึงใต้คางจะเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม, หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลแดง, สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลอมดำ, สีตัวตั้งแต่หัวปีกจนถึงโคนหาง ใบขนแต่ละใบคล้ายๆเกล็ดปลา คือใบขนแต่ละใบเป็นสีน้ำตาล ก้านขนและขอบขนเป็นสีครีม ซึ่งเป็นจดเด่นประจำตัว, ปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำตาล มีลายทางคลุมเป็นสีน้ำตาล, ก้านขนสีครีม, หางพัดทั้งหมด 80% เป็นสีน้ำตาลอมดำ, แข้ง นิ้ว เล็บ มีทั้งสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียวหรือสีเขียวอมเทา ตัวเมียสีลายนกกระจอก เป็นสีไก่แจ้ตัวเมียที่นิยมเลี้ยงกันมากสีหนึ่ง ถ้าต้องการตัวเมียสีน้ ต้องผสมพันกับตัวผู้สีไก่ป่าเข้ม แต่ถ้านำตัวเมีย สีลายนกกระจอก ผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเหลือง แล้วลูกออกมาเป็นตัวเมีย สีจะกลับกลายเป็นสีไก่ป่าตัวเมีย แต่ถ้าลูกออกมาเป็นตัวผู้ ส่วนใหญ่จะเป็นสีไก่ป่าเข้ม จะเป็นสีไก่ป่าเหลืองน้อยมาก