ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557


สีกาบหมาก (Silver Duckwing)
ตัวเมีย
ตัวผู้
ตัวเมีย
ตัวผู้ หนา หงอน - เหนียง - ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทรายหรือพื้นกำมะหยี่ ตาสีส้มปนแดง หรือสีเหลืองส้ม จงอยปากสีขาว หรือเหลือง หรือดำอมเหลือง ขนหัว - สร้อยคอ - ระย้าเป็นสีขาวไม่มีสีดำปน ขนหลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้าง สีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ ตรงสาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสีขาวนวล ขนอก - ใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางทั้งหมดตั้งแต่เครื่องคลุม หางพัด หางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงาย (ขนอุย) สีดำ แข้ง - นิ้ว - เล็บ เป็นสีขาวนวลหรือสีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว
ตัวเมีย ขนตั้งแต่หัวถึงสร้อยคอจะเข้ม เป็นเทาอมน้ำตาล ใต้คอ - หน้า - อก ถึงใต้ท้องเป็นสีครีมนวลส่วนสีตัวถึงเครื่องคลุมจะเป็นสีน้ำตาลดดำ ใบหางพัดทั้งหมดเป็นสีดำน้ำตาล แข้ง - นิ้ว -เล็บเป็นสีขาวนวลหรือสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว
หมายเหตุ ตัวเมียสีลายนกกระจอก สีขนทั้งตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองใบขนตั้งแต่ถึงใต้คางจะเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม หน้าอกถึงใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลแดง สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองขลิบขอบด้วยสีน้ำตาลอมดำ สวยงามมาก ส่วนสีตั้งแต่หัวปีกจนถึงโคนหาง ใบขนแต่ละใบคล้ายๆ เกล็ดปลา คือใบขนหางคลุมเป็นสีน้ำตาล ก้านขนและขอบขนเป็นสีครีมซึ่งเป็นจุดเด่นประจำตัว ปีก 2 ข้าง เป็ฯสีน้ำตาลมีลายเหลืองอมเขียว สีเขียวและสีเขียวอมเทา
ตัวเมีย สีลายนกกระจอก เป็นสีไก่แจ้ตัวเมียที่นิยมเลี้ยงอีกสีหนึ่ง ถ้าต้องการตัวเมียสีนี้ต้องผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเข้ม แต่ถ้านำตัวเมีย สีลายนกกระจอก ผสมกับตัวผู้สีไก่ป่าเหลือง ลูกออกมาเป็นตัวเมียสีจะกลับกลายเป็นสีไก่ป่าตัวเมีย ถ้าลูกเป็นตัวผู้ส่วนใหญ่จะเป็นสีไก่ป่าเข้ม จะได้เป็นสีไก่ป่าเหลืองน้อยมาก








เบญจรงค์
ตัวผู้ หน้า หงอน-เหนียง-ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอน-เหนียง-ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย หรือพื้นกำมะหยี่ ตาสีแดงหรือสีส้ม จงอยปาก-แข้ง-นิ้ว-เล็บ เป็นสีเหลืองหรือสีเขียว เส้นขนของตัวผู้สังเกตได้ง่ายเริ่มตั้งแต่หัวจรดสร้อยคอและระย้าปลายของเส้นขน
จะเป็นสีงานช้างถึงกลางเส้นต่อจากนั้นจนถึงโคนของเส้นขนจะเป็นสีแดงทับทิม หน้าอกเป็นแว่นสีน้ำตาลแดง โคนของใบขนเป็นสีดำ หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้าง เป็นสีแดงทับทิม หน้าอกเป็นแว่นสีน้ำตาลแดง โคนของใบขนเป็นสีดำ หลังและหัวปีกทั้ง 2 ข้าง เป็นสีแดงทับทิม ปีกสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ สาบปีกที่เป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสีน้ำตาลแดงทั้ง 2 ข้าง หางพัดและหางชัย เป็นสีดำเหลือบเขียวปีกแมลงทับ บัวหงายเป็นสีดำ สรุปสีของตัวผู้ คือ
1. สีงาช้าง 2. สีแดงทับทิม 3.สีน้ำตาลแดง 4. สีดำ5. สีเขียวปีกแมลงทับ





อากาศเย็นเป็นสิ่งที่ลูกไก่ไม่ชอบเอาซะเลย อยากรู้ว่าลูกไก่หนาวหรือไม่นั้น สังเกต ไม่ยากหรอกครับ เพียงดูว่าลูกไก่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือกระจายตัวกันอยู่ หากอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั่นแสดงว่าลูกไก่หนาว

       วิธีที่จะแก้หนาวหาหลอดไฟ(หลอดไส้) ขนาด 25 วัตต์ หนึ่งดวงมาแขวน ไว้ในกรง เพื่อให้ความอบอุ่น แต่ถ้าหากอากาศไม่เย็นหรือเห็นว่าลูกไก่ไม่รวมกลุ่มก็ปิดไฟ ถ้าจะให้ดีหาตัวหรี่ไฟ

มาใช้จะทำให้เราความคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับช่วงเวลาได้ดีกว่านะครับ และ

กรงสำหรับลูกไก่นั้น ก็ไม่ควรให้โปร่งหรือรับลมนะครับ มันจะได้อุ่นเหมือนอยู่ใน

อาหารสำหรับไก่แจ้

อาหารเม็ดสำเร็จรูป
ผู้เลี้ยงในปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปอัดเม็ด (Pellet Feed) สำหรับไก่ไข่ในการเลี้ยง โดยจะเลือกใช้ตามขนาดของไก่ ระยะคือ
-ระยะไก่เล็ก อายุ แรกเกิด - 6สัปดาห์
-ระยะไก่รุ่นอายุ สัปดาห์ - 19 สัปดาห์
-ระยะพ่อแม่พันธุ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป (มานิตย์, 2536)
  โดยให้กินตลอดเวลาแบบไม่จำกัดปริมาณ อาหารที่ใช้จะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และสะอาดเสมอ ไก่แจ้กินอาหารในปริมาณที่ไม่มาก เพราะไก่แจ้ตัวเล็ก การลงทุนค่าอาหารจึงต่ำมาก ไก่แจ้หนัก 100 กรัม ให้อาหารเพียง30 กรัม หรือ 3 % ของน้ำหนักตัว 

      น้ำจะต้องมีให้ไก่กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าหากไก่ขาดน้ำ จะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง เพราะน้ำจะช่วยระบายความร้อนให้กับร่างกาย น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด และเย็น ภาชนะใส่น้ำไม่ควรอยู่ใกล้ไฟกก หรือตั้งตากแดดเพราะจะทำให้น้ำร้อนไก่จะไม่กิน

การสร้างโรงเรือน

โรงเรือนไก่แจ้(ท้องถิ่น)
       การสร้างโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่โดยเฉพาะจะมีความจำเป็นมาก เพราะลักษณะของโรงเรือนที่ดีจะทำให้ไก่ไม่เกิดความเครียด เนื่องจากอากาศร้อน ทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น ไก่มีสุขภาพดี ลดปัญหาการเกิดโรค และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
          ลักษณะการสร้างโรงเรือนส่วนใหญ่มี 2 วิธี                                                                                   ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้เลี้ยงเอง คือการสร้างโรงเรือนและการสร้างกรง


         - เนื่องจากธรรมชาติของไก่แจ้เป็นสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นสบาย แต่ไม่ชอบลมโกรก โรงเรือนควรมีหลังคาสูงเพื่อการระบายอากาศ มีตาได้

การสร้างกรง ข้อมูลในการพิจารณาสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเลี้ยงควรพิจารณา ถึงความต้องการพื้นที่เป็นอันดับแรก เช่น ไก่แจ้หนึ่งชุดประกอบด้วย ตัวผู้ ตัว ตัวเมีย ตัว ควรใช้พื้นที่อย่างน้อย ตารางเมตร ความสูงประมาณ 90 เซนติเมตร
ข่ายและมุ้ง ที่กันลมโกรก และกันยุง



การคัดเลือกไก่
ต้องดูเป้าหมายของผู้เลี้ยงว่ามีวัตถุประสงค์หลักอย่างไรบ้าง จะเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินเลี้ยงเพื่อเตรียมตัวส่งเข้าประกวด หรือเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า
1. เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินก็จะพิจารณาเลือกไก่ที่มีสายพันธุ์ดี มีลักษณะแข็งแรงจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ โดยเลือกสีไก่ตามความชอบของผู้เลี้ยง
2. เลี้ยงเพื่อเตรียมตัวส่งไก่เข้าประกวด ต้องคัดเลือกไก่โดยพิจารณาตั้งแต่ ความยาวของขา รูปทรง สายพันธุ์ที่ดี มีลักษณะแข็งแรง จากฟาร์มที่เชื่อถือได้
3. เลี้ยงเพื่อเป็นการค้า

3.1 ต้องคัดเลือกสีไก่ที่ตรงตามความต้องการของตลาด

3.2 คัดเลือกสีไก่ตรงตามลักษณะของสีนั้นๆ จากฟาร์มที่เชื่อถือได้

3.3 เลือกไก่ทั้งเพศผู้ และเพศเมียที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อไก่เริ่มผสมพันธุ์ได้ จะไม่มีปัญหาในการผสม

3.4 ลักษณะของไก่ตัวผู้ ความยาวของขา ไม่ควรสั้นจนเกินไป
3.5 ไก่ที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต้องมาจากฟาร์มที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคที่รุนแรงมาก่อน
3.6 ไก่ต้องได้รับการให้วัคซีนตามโปรแกรมครบถ้วน

 การจัดการพ่อแม่พันธุ์

       การเลี้ยงไก่แจ้นั้นควรเลี้ยงแยกตามสีอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์ ลูกไก่ที่มีสีตรงตามพันธุ์ จะจำหน่ายได้ราคาดีกว่าเสมอ
      พ่อพันธุ์ที่ใช้ควรมีอายุ 7- 8 เดือน ส่วนแม่พันธุ์ควรเริ่มที่ อายุ 5 เดือนขึ้นไป พ่อพันธุ์สามารถคุมฝูงแม่พันธุ์ได้ 3-4 ตัว

      ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ เพื่อช่วยให้เปลือกไข่แข็งแรง เก็บไข่ทุกครั้งที่พบ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่สกปรก

      

      วัสดุรองพื้น  นักเลี้ยงไก่แจ้นิยมใช้ทรายเป็นวัสดุรองพื้น เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด โดยใช้ตระแกรงหยาบร่อนเอามูลออก และเปลี่ยนเอาทรายทิ้งเมื่อเริ่มเป็นผงละเอียด

อาหารสำหรับไก่แจ้
     ผู้เลี้ยงในปัจจุบัน นิยมใช้อาหารสำเร็จรูปอัดเม็ด (Pellet Feed) สำหรับไก่ไข่ในการเลี้ยง โดยจะเลือกใช้ตามขนาดของไก่ 3 ระยะคือ
-ระยะไก่เล็ก อายุ แรกเกิด - 6สัปดาห์
-ระยะไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ - 19 สัปดาห์
-ระยะพ่อแม่พันธุ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป (มานิตย์, 2536)
      โดยให้กินตลอดเวลาแบบไม่จำกัดปริมาณ อาหารที่ใช้จะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และสะอาดเสมอ ไก่แจ้กินอาหารในปริมาณที่ไม่มาก เพราะไก่แจ้ตัวเล็ก การลงทุนค่าอาหารจึงต่ำมาก ไก่แจ้หนัก 100 กรัม ให้อาหารเพียง 30 กรัม หรือ 3 % ของน้ำหนักตัว



      น้ำจะต้องมีให้ไก่กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าหากไก่ขาดน้ำ จะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง เพราะน้ำจะช่วยระบายความร้อนให้กับร่างกาย น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด และเย็น ภาชนะใส่น้ำไม่ควรอยู่ใกล้ไฟกก หรือตั้งตากแดดเพราะจะทำให้น้ำร้อนไก่จะไม่กิน

วิธีการเตรียมไก่เพื่อจำหน่าย
     การเตรียมไก่เพื่อการจำหน่ายมีความสำคัญต่อผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มราคาให้กับตัวไก่แล้ว ยังช่วยยกระดับฟาร์ม ให้มีคุณภาพมากขึ้น ผู้เลี้ยงสามารถทำได้โดย



- ทำการคัดเกรดไก่ ตั้งแต่ไก่อายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไป โดยคัดแยกไก่ขาสั้น กับไก่ขายาวออกจากกัน และคัดไก่ที่มีความต้องการของตลาดมากออกจากไก่ทั่วไป



- การจัดชุดไก่ ควรจัดตามประเภทสีไก่ ให้จัดเป็นคู่ หรือเป็นชุด ชุดละ 3 ตัว โดยมีเพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 1 ตัว หรือเพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 2 ตัว โดยให้อยู่ในสีเดียวกันเท่านั้น เพื่อป้องกันการผสมข้ามสี และป้องกันปัญหาการจิกตีกัน เมื่อนำมารวมกันภายหลัง



- การอาบน้ำไก่ เป็นการช่วยทำให้ไก่มีสุขภาพดี ปราศจากพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร หมัด ทำให้ขนเรียบสะอาดเป็นมันเงา



- การจัดโชว์ไก่ กรงที่ใช้ต้องเป็นกรงที่ใหม่ สะอาด มีความเหมาะสมกับขนาด และจำนวนไก่ ผู้เลี้ยงอาจขายได้ทั้งไก่และกรงพร้อมๆกัน จะเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง
วิธีการเตรียมไก่เพื่อประกวด




 คัดไก่ในฟาร์มที่เราเห็นว่ามีลักษณะดีที่สุดในแต่ละสีในสายาของเรา



 ทำการแยกเลี้ยงเดี่ยวล่วงหน้าก่อนการประกวด 3-4 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาการจิกตี (Cannibalism) และการข่ม จากไก่ตัวที่เก่งกว่า



 อาบน้ำ ทำความสะอาดตัวไก่เพื่อกำจัดพยาธิภายนอก (Ectoparsites) เช่น เหา ไร และหมัด โดยใช้ยา มาลาไทออน (Malathion) ผสมน้ำในอัตราส่วนน้ำยา 1 แกลลอน ต่อไก่ 100 ตัว น้ำยาที่เหลือจากการอาบน้ำไก ่ให้นำมาฉีดพ่นในกรง ที่ทำความสะอาดแล้ว เพื่อกำจัดไร ในกรงให้หมดไป



 ทำการถ่ายพยาธิไก่ โดยพยาธิตัวกลมให้ยาเมเบนดาโซล (Mebenda- zole) 5 - 35 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม พยาธิตัวแบน ให้ยาเมเบนดาโซล 10 - 50 มิลลิกรัม ต่อนำหนักไก่ 1 กิโลกรัม ให้ยาครั้งเดียว



 ให้วิตามิน อาหารเสริม (Supplements) เพื่อให้ไก่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดูแลเอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ จับอุ้มเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ไม่ตื่นตกใจง่าย หัดให้ไก่เดินบนพื้นลื่น พื้นหยาบ สนามหญ้า



 ก่อนการประกวด 5 - 7 วัน ควรอาบน้ำไก่อีกครั้ง ตัดเล็บ เดือยไก่ที่ยาว

 เมื่อถึงวันประกวดให้นำไก่ไปสนามประกวดแต่เช้า เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับไก่
  เมื่อไก่เป็นหวัดควรทำอย่างไรดี
 ขั้นแรกคือ จัดการแยกไก่ที่มีอาการออกขังเดี่ยวเพื่อป้องกันการติดต่อสู่ไก่ตัวอื่นๆ
 สองคือจัดหาหลอดไฟ ประมาณ 25 วัตต์ มาแขวนไว้เพื่อให้ความอบอุ่น ในวันที่ฝนตก และเวลากลางคืน
 สามให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้หวัดไก่ ควรอ่านวิธีใช้จากฉลากยาอย่างละเอียด
 ควรหมั่นทำความสะอาดพื้นกรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

 เทคนิคการดูแลลูกไก่ในหน้าหนาว

        อากาศเย็นเป็นสิ่งที่ลูกไก่ไม่ชอบเอาซะเลย อยากรู้ว่าลูกไก่หนาวหรือไม่นั้น

สังเกตุ ไม่ยากหรอกครับ เพียงดูว่าลูกไก่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือกระจายตัวกันอยู่

หากอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั่นแสดงว่าเค้าหนาวแล้วหล่ะครับ

       วิธี่ที่จะแก้หนาวก็ง่ายๆ อีกหล่ะครับ เพียงหาหลอดไฟ้(หลอดใส้นะครับ) ขนาด
25 วัตต์ หนึ่งดวงมาแขวน ไว้ในกรง เพื่อให้ความอบอุ่น แต่ถ้าหากอากาศไม่เย็น
หรือเห็นว่าลูกไก่ไม่รวมกลุ่มกันก็อย่าลืมปิดไฟด้วยหล่ะครับ ถ้าจะให้ดีหาตัวหรี่ไฟ
มาใช้จะทำให้เราความคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับช่วงเวลาได้ดีกว่านะครับ และ
กรงสำหรับลูกไก่นั้น ก็ไม่ควรให้โปร่งหรือรับลมนะครับ มันจะได้อุ่นเหมือนอยู่ใน
อ้อมอกแม่มันไงครับ
อุปกรณ์ที่จำเป็น
     อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่แจ้ก็เหมือนกับอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงไก่ทั่วๆ ไป คือจำเป็นต้องมี รางอาหาร ที่ตักอาหาร กระปุกน้ำตามขนาดของไก่ กล่องหรือกรงและหลอดไฟแขวนสำหรับลูกไก่และไก่รุ่น
    อุปกรณ์ในในการทำความสะอาดทั่วๆไป เช่น ไม้กวาด ตะแกรงร่อนทราย ฯลฯ ถ้าเลี้ยงไก่จำนวนมากควรมีตู้ฟักไข่ด้วย

    การฟักไข่ มี 2 วิธีคือ การใช้ตู้ฟักไข่ และการให้แม่ไก่ฟัก

การให้แม่ไก่ฟักจะทำให้แม่ไก่โทรมและใช้เวลานานกว่าที่แม่ไก่จะกลับมาไข่อีก ปัจจุบันนิยมใช้ตู้ฟักไข่ ใช้ระยะเวลาในการฟัก 21 วันเหมือนกับไก่ทั่วๆไป อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 99.5 องศาF ความชื้นประมาณ50-60 %



การเลี้ยงไก่แจ้
1.         เหตุผลความเหมาะสม
                ไก่แจ้เป็นสัตว์ปีกที่สวยงาม เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย เด็กผู้หญิงหรือคนชราก็เลี้ยงได้ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสามารถทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้
2. เงื่อนไขความสำเร็จ
                2.1 ผู้เลี้ยงต้องมีความรักและสนใจในการเลี้ยงไก่แจ้
                2.2 ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะพันธุ์ไก่แจ้ตามอดดมทัศนีย์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
                2.3 ต้องมีตลาดรองรับที่ชัดเจน และต้องอยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายแลกเปลี่ยนพันธุ์ไก่
3. เทคโนโลยี และกระบวนการผลิต
                3.1 พันธุ์ไก่แจ้
                ไก่แจ้ที่นิยมเลี้ยงมีทั้งไก่แจ้สากลและไก่แจ้ไทย สีที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ สีขาว สีดำ สีทอง สีกระดำ สีเทา สีขาวหางดำ สีประดู่ สีบาร์ สีโกโก้ และสีลายดอกหมาก รูปพรรณไก่แจ้ที่ดีทั่วไป ควรมีลักษณะเหมือนหยดน้ำ หน้าดี สีสวย กระรวยดั้ง หางดอก อกกลมสมส่วน เกษตรกรสามารถหาซื้อได้จากฟาร์มเลี้ยงไก่แจ้ทั่วไป โดยต้องล็อกจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ มีพันธุ์ประวัติที่ชัดเจน
1.1          โรงเรียนและอุปกรณ์
โรงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยให้กับไก่ ต้องสามารถกันแดดกันฝน กันลม และให้ความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ ลักษณะโรงเรือนมีหลายรูปแบบ เช่น เป็นโรงเรือนที่ให้คนเดินเข้า – ออกได้ หรือทำเป็นกรงลอย ยกพื้นเตี้ย สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรืออาจทำเป็นแบบกรงซ้อนกันหลายชั้น การเลี้ยงไก่แจ้ 1 ชุด (ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว) ควรใช้เนื้อที่อย่างน้อยปริมาณ 1 ตารางเมตร ส่วนหลังคา แล้วแต่ความเหมาะสมจะเป็นเพิงหรือจั่วก็ได้ ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมภายในกรงทำคอนสำหรับนอน มีรังไข่ ที่ใส่อาหาร และที่ใส่น้ำรองพื้นกรงด้วยทราย สถานที่ตั้งกรงไก่แจ้ ควรตั้งในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี แดดส่องถึงบ้างพอสมควร ควรมีร่มเงาของไม้ใหญ่ สิ่งสำคัญอย่าให้มีลมโกรกโดนตัวไก่โดยตรง และควรมีมู่ลี่กันละอองฝนในฤดูฝน
1.2          อาหารและการให้อาหาร
ควรใช้อาหารไก่ไข่ที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด โดยจำหน่ายตามขนาดไก่แจ้ คือ ไก่ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 1 เดือนใช้อาหารไก่เล็ก ไก่อายุ 1 – 3 เดือน ใช้อาหารไก่รุ่น ไก่อายุตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไปใช้อาหารไก่ใหญ่ และแบ่งให้อาหารเป็น 2 มื้อ คือ เช้า-บ่าย สำหรับลูกไก่ควรให้กินตลอด 24 ชั่วโมง ควรมีน้ำสะอาดให้ไก่แจ้กินตลอดเวลา
1.3          การจัดการเลี้ยงดูไก่แจ้ระยะต่าง ๆ
การดูแลลูกไก่ ที่ซื้อมาในระยะแรก นำลูกไก่แจ้มาเลี้ยงในกล่องกระดาษ หรือจะเลี้ยงบนกรงอนุบาลลูกไก่ และกกด้วยหลอดไฟขนาด 20 – 25 แรงเทียนเพื่อให้ความอบอุ่น ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองพื้นกั้นกล่องให้น้ำและอาหารกินตลอดวัน น้ำควรผสมยาปฏิชีวนะป้องกันการติดชื้อไวรัสหรือให้วิตามินเสริมและควรเปลี่ยนน้ำทุกเช้า – เย็น เมื่อพื้นสกปรกให้เปลี่ยนกระดาษพื้นกล่องทันที เมื่อลูกไก่โตขึ้นก็เปลี่ยนขนาดกล่องให้ใหญ่ขึ้นเลี้ยงลูกไก่ไนกล่องจนอายุประมาณ 3 เดือน แล้วนำไปเลี้ยงในกรงที่เตรียมไว้ส่วนการดูแลไก่รุ่นและพ่อแม่พันธุ์ ไก่ระยนี้การเลี้ยงไม่ค่อยยุ่งยากนักให้อาหารและน้ำกินตลอดวัน อาหารที่ให้ จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดโดยจะต้องเป็นอาหารที่ใหม่ และมีน้ำสะอาดให้กินตลอดวัน แม่ไก่ 1 ตัว จะให้ลูกปีละ 15 – 20 ตัว
1.4          การป้องกันโรค
ควรทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบ โรคฝีดาษ และอหิวาต์ ตามโปรแกรมกำหนดและมีการกำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เหา หมัด ไร โดยวิธีการฉีดบริเวณพื้นบริเวณคอก หรือ ละลายยาแล้วจับตัวไก่จุ่มในน้ำยาเพื่อเป็นการป้องกันควรป้องกันกำจัดพยาธิภายในอาทิ พยาธิไส้เดือน ดำเนินการโดยทำความสะอาดคอก กวาดอุจจาระออกบ่อย ๆ อย่าให้คอดชื้นและมีการถ่วยพยาธิเป็นประจำ
2.         ต้นทุน และผลตอบแทน
                สำหรับการเลี้ยงไก่แจ้ 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 4 ตัว
2.1          ต้นทุน
ได้แก่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ ค่าพันธุ์ ค่าอุปกรณ์ในการเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ รวมประมาณ 5,000 – 6,000 บาท
4.2 ผลตอบแทน
ในปีแรกจะได้จากการจำหน่ายผลผลิตลูกไก่ ที่ได้จากการเลี้ยง 1 ชุด ได้ลูกไก่จำนวน 70 – 80 ตัว จำหน่ายในราคาตัวละ 100 บาท จะได้ผลตอบแทนประมษร 7,000 – 8,000 บาท และในปีต่อ ๆไป จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องลงทุนค่าพ่อพันธุ์ –แม่พันธุ์อีก
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะการตลาดและแหล่งเลี้ยง รวมทั้งขนาดการผลิต ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล และรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลี้ยง





เลี้ยงลูกไก่ให้รอด 100%
การเลี้ยงลูกไก่ให้รอด 100 %
          ลูกไก่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ การที่จะเลี้ยงลูกไก่ให้รอดได้นั้น เรามาทำความเข้าใจกับปัจจัจหลัก ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูก่อน อันได้แก่ ที่อยู่อาศัย อุณหภูมิ อาหาร วัคซีนป้องกันโรค จากนั้นจึงค่อยเรียนรู้เทคนิคต่างๆในแต่ละขั้นตอนกันครับ

      ประการแรกที่อยู่อาศัย   ลูกไก่เกิดมาจากแม่ไก่หรือตู้ฟักก็ตามสิ่งที่เหมือนกันของทั้ง 2 อย่างก็คือ การปกป้องให้ลูกไก่รอดจากแดด ลม และได้รับความอบอุ่นที่เหมาะสม แต่สำหรับลูกไก่ที่ไม่มีความแข็งแรงจำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัยที่พิเศษไปกว่านั้น เพื่อการเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ
           ประการต่อมา คือเรื่องอุณหภูมิ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราทราบว่าลูกไก่เกิดจากตู้ฟักด้วยอุณหภูมิ 100 องศาฟาเรนไฮร์ ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำต่อเนื่องก็คือการควบคุมอุณหภูมิและค่อยๆ ปรับลดตามอายุลูกไก่ หากลูกไก่ถูกกระทบจากอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เกิน 10 องศาในทันทีมีโอกาสป่วยสูง
           ประการถัดมาเป็นเรื่องอาหาร  เรื่องนี้ง่ายมากเนื่องจากในทุกวันนี้มีอาหารสำเร็จรูปสำหรับลูกไก่จำหน่ายอยู่ทั่วไป แต่สิ่งที่อยากให้คำนึงถึงคืออาหารที่ลูกไก่ได้รับตั้งแต่เป็นไข่ซึ่งก็คืออาหารและวิตามินที่แม่ไก่กินเข้าไป และขณะที่อยู่ในไข่ ซึ่งก็คือไข่แดง เรื่องเหล่านี้จะเกี่ยวโยงถึงการเจริญเติบโตด้วย
           ประการสุดท้ายคือวัคซีนป้องกันโรค เมื่อลูกไก่ออกจากไข่มาสัมผัสโลกภายนอก  โอกาสที่จะได้รับเชื้อโรคต่างๆเป็นไปได้ตลอดเวลา จริงๆแล้วโรคบางโรคป็นโรคที่ติดต่อมาจากแม่ไก่ด้วย ฉะนั้นการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงลูกไก่ให้รอด 100% ครับ


เลี้ยงไก่แจ้แบบมืออาชีพ

k1